ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Research Information System(RIS)

หน้าหลัก > งานวิจัย > รายละเอียดงานวิจัย

 

การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของประชาชน องค์การบริหารส่วนตำบลพิงพวย อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

วิทยาลัยกฎหมาย และการปกครอง
คำสำคัญ การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, การดำเนินชีวิต, องค์การบริหารส่วนตำบล the application of sufficiency economy philosophy, lifestyle, District Administration
เลขทะเบียน 01/2566
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพิงพวย อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพิงพวย อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษและเพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพิงพวย อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลพิงพวย อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 378 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ตอน มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการแจกแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ สถิติ t-test และ F-test เมื่อพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 จะทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัย พบว่า 1. ประชาชนที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพเกษตรกร และมีรายได้ต่อเดือน 5,000-10,000 บาท 2. การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพิงพวย อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของประชาชนในมากที่สุด คือ ด้านเงื่อนไขคุณธรรม รองลงมาคือ ด้านความมีเหตุผล ด้านความพอประมาณ ด้านเงื่อนไขความรู้ และน้อยที่สุดคือด้านการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตามลำดับ 3. ผลการเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพิงพวย อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ สามารถสรุปผลการทดสอบได้ดังนี้ การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 จึงยอมรับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ได้แก่ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ส่วนเพศและอายุ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 จึงปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้
Abstract This paper is aimed to study the application of self-sufficiency economy philosophy in the people’s lives in Ping Phuay Subdistrict Administrative Organization Si Rattana District Sisaket province. The objective is to study the level of application of self-sufficiency economy philosophy in the lives’ people in Ping Phuay Subdistrict Administrative Organization, Si Rattana District and to compare the application of the self-sufficiency economy philosophy in the lives’ people in Ping Phuay Subdistrict Administrative Organization Si Rattana District Sisaket province is classified by sex, age, education level, occupation and monthly income using quantitative research method. The sample is used in the research involved with people aged 18 years old and over living in Ping Phuay Sub district Administrative Organization area, Si Ratana District. The research instrument is used in this study such as a questionnaire divided into 3 parts with a confidence coefficient of 0.92. Data analysis manipulation is used statistical software packages to determine frequency, percentage, means, standard deviation, and statistics used in hypothesis testing, including t-test and F-test. When a statistically significant difference of .05 was identified, a dual difference test is performed using the LSD: Least Significant Difference method. The research finding result is as follow: 1. Most of the respondents are female, aged over 50 years old, with education level below a bachelor's degree, working as a farmer, and having a monthly income of 5,000-10,000 baht. 2. The Application of Self-Sufficiency Economy Philosophy in Peoples’ lives in Ping Phuay Subdistrict Administrative Organization Si Rattana District Sisaket province as a overall is at a high level. When it is considered on a case-by-case basis, it is found that it is at the most high level in all aspects such as moral conditions, rationality, moderation, knowledge conditions, and good immunization consequently. 3. Testing comparison of the application of the Self-Sufficiency Economy Philosophy in the peoples ’lives in Ping Phuay Subdistrict Administrative Organization Si Rattana District Sisaket Province. The test results can be summarized as follows: The application of the Self-Sufficiency Economy philosophy to be differs significantly at .05; therefore, accepting the research hypothesis statement such as education level, occupation, and monthly income. Besides, the aspect of sex and ages is not significant difference at .05, thus rejecting the research hypothesis statement.
ไฟล์งานวิจัย
วิทยาลัยกฎหมาย และการปกครอง

 

2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ