ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Research Information System(RIS)
พลังชุมชนกับการจัดการน้ำระบบชลประทานเพื่อการเกษตร กรณีศึกษา : สถานีสูบน้ำ RSP12 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง สำนักงานชลประทานที่ 8 ตำบลเป๊าะ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ
วิทยาลัยกฎหมาย และการปกครอง
คำสำคัญ
เลขทะเบียน 05/2565
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1. ศึกษาพลังชุมชนในบริหารจัดการน้ำระบบชลประทาน เพื่อการเกษตร และ2.ศึกษากระบวนการจัดสรรการใช้น้ำระบบชลประทาน ให้เกิดประสิทธิภาพ โดยเก็บข้อมูล สภาพชุมชนก่อนเข้ามาจัดตั้งสถานีสูบน้ำ RSP12 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร เก็บข้อมูลภาคสนาม (Field works) สำรวจพื้นที่จริง เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ของพื้นที่ชุมชนที่เป็นเขตส่งน้ำของตลอดช่วงคลองส่งน้ำ ร่วมกับการสังเกตพฤติกรรมการใช้น้ำตลอดฤดูกาล ผู้วิจัยสังเกตพฤติกรรมการสร้างพลังชุมชนของสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรม การสนทนากลุ่มย่อย (Focus group) กับผู้เป็นกุญแจสู่ความรู้ (Key informant) โดยนำข้อมูลจัดเวทีสนทนากลุ่มย่อย แยกเป็นสองกลุ่มคือ คณะกรรมการกลุ่มผู้ใช้น้ำ และ สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ เพื่อตรวจสอบและยืนยันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลร่วมกัน โดยใช้แนวคำถามสำหรับกลุ่มสนทนา ซึ่งเป็นลักษณะการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างโดยแยกเป็นข้อมูลภายใต้หลักการมีส่วนร่วม พบว่า 1.พลังชุมชนสามารถดำเนินการสู่เป้าหมายการจัดการใช้น้ำเพื่อการเกษตร ซึ่งถือได้ว่าความสำเร็จดังกล่าวเริ่มจากการร่วมกันเสียสละที่ดินเพื่อให้สามารถขุดคลองซอยให้ได้คลอบคลุมพื้นที่ของตนเองและพื้นที่ข้างเคียง โดยชาวบ้านได้จัดประชุมหลายครั้งแต่ละครั้งจะให้ผู้ที่อาวุโสของชุมชน ที่เป็นญาติผู้ใหญ่ที่เจ้าของที่เคารพนับถือได้ช่วยพูดคุยให้เห็นความสำคัญ และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นเป็นการสร้างมูลค่าที่ดินของตนเองได้ โดยใช้หลักภูมิความรู้ในอดีตอธิบายถึงความเป็นมาของชุมชนให้รับทราบถึงรากเหง้าของชุมชนที่ฝ่าฟันกับปัญหาภัยแล้งในอดีต มาเป็นประเด็นการพูดคุยและการแสดงความคิดเห็นซ้ำๆ ทำให้เกิดคล้อยตามและเริ่มรวมตัวกันของชุมชนที่เข็มแข็งและ 2.กระบวนกลุ่มในการจัดสรรการใช้น้ำระบบชลประทาน มีประสิทธิภาพ ตามความสำคัญทั้งการบริโภค อุปโภคและเพื่อการเกษตรโดยหลักความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยการจัดตั้งคณะกรรมการกลุ่ม ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีด้านการชลประทาน เข้ามาช่วยในการเพาะปลูก เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต และการแก้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องการใช้น้ำ
Abstract This research aims to: 1) study community power to manage water in irrigation systems for agricultural activities; and 2) study the process of allocation of water usage in the irrigation system to be effective by collecting data on community conditions before setting up RSP12 pumping station under Lower Moon River Water Supply and Maintenance Project; data of agricultural land use; field works; and surveying the actual area to study the general condition of the community area that is the water delivery zone of the canal together with the observation of water usage behavior throughout the season. The author observed community empowerment behaviors of members who participating in the focus group and key informant by organizing a small group forum and divided members into two groups such as water user group committee and water user group. This is to check and verify the validity of the data by using the discussion group questionnaires - semi-structured interviews with separating data under the principle of participation. The author found that: 1) community power can work towards the goal of water management for agricultural activities which can be considered such success starting from jointly donating land to be able to dig canals to cover their own areas and neighboring areas the villagers held several meetings, each session was given to senior relatives of residents to explain land owners to understand the importance and the benefits that will increase the worth of their own land by using the knowledge of the past to explain the history of the community to know the roots of the community that has endured drought problems in the past as the point of discussion and repetition of opinions that led to reconciliation and began to unite a strong community; 2) the group process in allocating the use of water for the irrigation system which was effective in terms of both consumption and agricultural activities by establishing a committee to promote the introduction of irrigation technology into cultivation including reducing production costs and solving water resource conflicts.
ไฟล์งานวิจัย
วิทยาลัยกฎหมาย และการปกครอง
2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ