วิทยาลัยกฎหมาย และการปกครอง
คำสำคัญ การพัฒนา, ศักยภาพชุมชน, ศูนย์ดิจิทัลชุมชน
Development, Community Potential, Digital Community Center
เลขทะเบียน 03/2565
บทคัดย่อ การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาศักยภาพชุมชนผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ เปรียบเทียบการพัฒนาศักยภาพชุมชนผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชนตามปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการพัฒนาศักยภาพชุมชนผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชน ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพชุมชนผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชน เสนอแนะแนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ เครื่องมือวิจัยเป็นการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนที่เข้าใช้บริการจำนวน 398 คน โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้ T-test ANOVA วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจำนวน 7 คน โดยใช้โปรแกรม Atlas.ti ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล การบริหารองค์การ ด้านขีดสมรรถนะบุคลากร การมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านการศึกษาเรียนรู้และข้อมูลข่าวสาร ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ และด้านการส่งเสริมรายได้ อยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบอายุ อาชีพต่างกันระดับในการพัฒนาศักยภาพชุมชนผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชนจังหวัดศรีสะเกษต่างกัน และเพศ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือนต่างกันระดับในการพัฒนาศักยภาพชุมชนผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชนจังหวัดศรีสะเกษไม่แตกต่างกัน เมื่อทำการทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล การบริหารองค์การ ด้านขีดสมรรถนะบุคลากร การมีส่วนร่วมของชุมชนพบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการพัฒนาศักยภาพชุมชนผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ และยังทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการถดถอยพหุคูณเพื่อทำนายอิทธิพลของปัจจัยทั้ง 4 ด้านพบว่าปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (β = 0.137) การบริหารองค์การ (β = 0.244) ด้านขีดสมรรถนะบุคลากร (β = 0.225) การมีส่วนร่วมของชุมชน (β = 0.303) มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพชุมชนผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า ศูนย์ดิจิทัลชุมชนยังขาดการประชาสัมพันธ์ในกิจกรรมต่าง ๆ บุคลากรที่ดูแลศูนย์ยังไม่เพียงพอทำให้ต้องใช้บุคลกรในหน่วยงานที่ตั้งทดแทน สถานที่ตั้งศูนย์ดิจิทัลยังตั้งอยู่ในสถานที่ซึ่งปะปนกับสถานที่ทำงานของหน่วยงานราชการทำให้ไม่สะดวกในการเข้าใช้บริการ ขาดภาคีเครือข่ายในการทำงานร่วมกัน อย่างไรก็ดีผู้บริหารยังเห็นว่าศูนย์ดิจิทัลชุมชนเป็นศูนย์กลางที่จะพัฒนาทักษะทางดิจิทัลให้แก่ชุมชนเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชนได้ในอนาคต
Abstract This research aimed to study The Guidelines of developing community potential through the Sisaket’s Digital Community Center. Comparison of community capacity development through Digital Community Centre based on personal attributes. Study the relationship of factors for community potential development thought the digital community center. Study the factors influencing the development of community potential through the Digital Community Center. Suggest guidelines for community potential development through the Sisaket’s Digital Community Center. The methodology of this research is questionnaires which collected the data from 398 service users. The statistic used in the analysis was mean, standard deviation. Comparative analysis was performed using T-test ANOVA, Pearson’s correlation coefficient and multiple regression analysis and in-depth interviews with 7 people and using the Atlas.ti program to analyze the data.
The result showed that Digital Infrastructure Factor organization administration, personnel competency, community involvement, education learning information, social cultural aspects, economic aspects and income promotion at a high level.
The result of this research showed that age, occupation and level of community potential development through Sisaket’s Digital Community Center were different and gender, education level. Monthly income differs, levels of community potential development though Sisaket’s Digital Community Center is not different. When testing the correlation of digital infrastructure factors, organization administration, personnel competency and community participation, it was found the positive correlation to the development of community potential though Sisaket’s Digital Community Center. The data was also analyzed using multiple regression methods to predict the influence of all four factors. It was found that digital infrastructure factors (β = 0.137, organizational management (β = 0.244), personnel competency (β = 0.225), community participation (β = 0.303) influenced the development of community potential through Sisaket’s Digital Community Center. It’s statistically significant at the .05 level.
The results of qualitative study found that the Community Digital Center still lack of public relations in various activities. The personnel in charge of the center is insufficient, thus requiring personnel in the replacement site. The digital center’s location is also located in a place where government offices are intermingled, making accessibility inconvenient and lack of network partners to work together. However, the management also sees that the community digital center is a center that will develop digital abilities for the community to use in their daily lives and can be used in their careers to generate income for families and communities in the future.
ไฟล์งานวิจัย