ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Research Information System(RIS)

หน้าหลัก > งานวิจัย > รายละเอียดงานวิจัย

 

ช่องทางการสื่อสารทางการเมืองของพรรคพลังประชารัฐ : กรณีศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษ

วิทยาลัยกฎหมาย และการปกครอง
คำสำคัญ พฤติกรรมการเลือกตั้ง / องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ / นายก / สมาชิกสภาท้องถิ่น
เลขทะเบียน 02/2567
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 2) หาแนวทางส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ และ 3) ศึกษาบทบาทและพฤติกรรมการเบี่ยงเบนของคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงผสม ประชากรคือประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 1,143,986 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 418 คน และผู้ให้ข้อมูล จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์พรรณนาเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเลือกตั้งในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยพฤติกรรมการเลือกตั้งในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับคะแนนค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านรับรู้ข่าวสารทางการเมือง ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ด้านระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ด้านการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และด้านการสื่อสารทางการเมือง ตามลำดับ 2) แนวทางส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้ง ควรให้ความรู้ทางการเมืองกับประชาชน โดยต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ทางการเมืองอย่างเพียงพอในฐานะที่เป็นพลเมืองของรัฐไทยภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันจะส่งเสริมให้การพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งทุกฝ่ายควรต้องให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ทางการเมืองกับประชาชน 3) บทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ได้แก่ การให้ความรู้ทางการเมืองเกี่ยวกับการเลือกตั้ง การบังคับใช้กฎหมาย การจัดการเลือกตั้งให้เสรีและเป็นธรรม พฤติกรรมเบี่ยงเบนของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ได้แก่ การเน้นการบังคับใช้กฎหมายโดยขาดจิตวิญญาณของกฎหมาย การวางตัวในลักษณะลอยตัวเหนือปัญหา การไม่มองประชาชนเป็นหุ้นส่วนการเลือกตั้ง กระบวนทัศน์การทำงานแบบระบบราชการ
Abstract The objectives of this research were 1) to study the electoral behavior of the council members and the Chief Executive of the Sisaket Provincial Administrative Organization, 2) to find ways to promote the electoral behavior of councilors and the Chief Executive of the Sisaket Provincial Administrative Organization, and 3) to study the role and deviant behavior of the Sisaket Provincial Election Commission. It's a mixed research. The population was 1,143,986 voters, a sample of 418 people, and 5 informants. The research instruments were questionnaires and interview forms. Data was collected by handing out questionnaires and in-depth interviews. The quantitative data were statistically analyzed, including frequency, percentage, mean and standard deviation. Qualitative data were analyzed, descriptive analysis of content. The results showed that: 1) The overall electoral behavior was at a moderate level. The overall electoral behavior in all aspects was at a moderate level. Sorted the average score from highest to lowest, were political news perception, the political participation of the people regulations of the Election Commission Election campaign and political communication, respectively; 2) Guidelines to promote electoral behavior Political knowledge should be given to the people. It must encourage people to have sufficient political knowledge as citizens of the Thai state under democratic regimes. This will encourage the development of democratic culture to occur in the future. And all parties should focus on educating the people of politics; 3) Role of the Provincial Election Commission was educating politics about elections, law enforcement, and free and fair elections. The deviant behavior of the Provincial Election Commission was the emphasis on law enforcement without the spirit of the law, hovering above the problem, refusing to view the people as partners in elections, and bureaucratic work paradigm.
ไฟล์งานวิจัย
วิทยาลัยกฎหมาย และการปกครอง

 

2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ